อากาศ
เวียดนามทางตอนเหนือ มี 2 ฤดู คือ ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ส่วนฤดูร้อนจะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
เราเลือกไปในช่วงเดือนกรกฎาคม เนื่องจากเป็นช่วงวันเข้าพรรษาของเรา แม้จะมีฝนตกบ้างแต่เราก็เตรียมตัวไปกันอย่างดี
หากจะให้ดีนักท่องเที่ยวนิยมมาระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ซึ่งอากาศจะสบายๆ หากมาช่วงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ที่ซาปาจะหนาวมาก
เราเป็นคนไทย ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องไปขอวีซ่า สามารถเข้าประเทศเวียดนามได้อย่างสบาย
การเดินทาง
วันแรก
กรุงเทพ-ฮานอย
เราเลือกใช้บริการสายการบินแอร์เอเซียซึ่งไฟล์จะออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแต่เช้าประมาณ เกือบเจ็ดโมงเช้า ใช้เวลาบินประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง ก็มาถึงสนามบินนอยไบ ที่ฮานอย ซึ่งมีเวลาเท่ากันกับกรุงเทพ เราตัดสินใจแลกเงินที่สนามบินไว้เผื่อขาดเผื่อเหลือ
100 US$ =Dong
วิธีการคิดเป็นเงินบาทอย่างง่ายคือ ให้ตัดศูนย์์สามตัวหลังออก แล้วคูณด้วยสอง
จากนั้นเราออกมาด้านนอกอาคารผู้โดยสารเพื่อออกมาขึ้นรถมินิบัสเข้าเมืองฮานอย ซึ่งจะต้องรอให้ผู้โดยสารเต็มเสียก่อน รถจึงออกเดินทาง
11 พ.ย. 2553
3 พ.ย. 2553
ลาวเหนือ (เวียงจันทน์ วังเวียง เชียงขวาง หลวงพระบาง)
ความรู้เบื้องต้น
หลวงวิจิตรวาทการกล่าวไว้ในพงศาวดารว่า ก่อนที่ไทจะอพยพจากประเทศจีนตอนใต้มาอยู่ที่อินโดจีนนั้น
ดินแดนของประเทศลาวในปัจจุบันเป็นที่อยู่ของพวกละว้า หรือ ลัวะ เมื่อพวกไทอพยพมาอยู่รวมเป็นเผ่าเดียวกัน กลายเป็นลาว ดังนั้นคนไทยกับคนลาวสืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกัน แต่ลาวมีชนกลุ่มน้อยหลายเผ่า ลาวแท้ๆ นั้นมีอยู่เพียงร้อยละ 50 เท่านั้น ปัจจุบันสามารถแบ่งประชากรลาวออกเป็น 3 ชนชาติใหญ่ ดังนี้
1. ลาวลุ่ม อาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีอยู่ประมาณร้อยละ 70 เช่น ลาวพวน ไทลื้อ
2. ลาวเทิง อาศัยอยู่บริเวณที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตร
3. ลาวสูง เป็นชาวเขาอาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่เป็นชาวม้ง มูเซอ
เมืองหลวง
เวียงจันทน์
ภูมิอากาศ ลาว มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคนถึงตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
ซึ่งเวลาที่แนะนำให้มาท่องเที่ยวคือในช่วงฤดูหนาว แต่อย่างไรก็ตามช่วงเทศกาลสงกรานต์ของลาวเราก็ไม่ควรพลาด
การปกครอง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ ส.ป.ป.ลาว ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม มีพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีประมุขคือประธานพรรค หรือประธานประเทศ แบ่งการปกครองเป็น 18 แขวง
ภาษา
เคยคุยกับคนลาวเป็นภาษาอังกฤษ แต่เขากลับพูดภาษาไทยอิสานกับเรา ส่วนคนลาวทางตอนเหนือจะพูดคล้ายๆ คนเชียงราย หรือเชียงใหม่ ทำให้เรารู้สึกว่าไทยกับลาวเป็นพี่เป็นน้องกัน แต่คนลาวบางคนสามารถใช้ภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสได้ดีอีกด้วย
วันเวลาที่เดินทาง
3 - 7 ธ.ค.53
การเดินทาง
เนื่องจากเรามีงบประมาณไม่มาก แต่ก็ไม่มีเวลามากนัก แถมต้องการท่องเที่ยวให้ทั่ว การเดินทางจึงเป็นดังนี้
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - อุดรธานี ด้วย FD 3360
อุดรธานี - สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว เนื่องจากมีผู้ร่วมเดินทางขับรถมาจากโคราช เลยติดรถไปด้วย
ฝากรถที่หนองคายวันละ 100 บาท
เช่ารถตู้มารับที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
ไปวังเวียง ค้างวังเวียง 1 คืน
นั่งรถต่อไปเชียงขวาง เมืองโพนสะหวัน ค้างโพนสะหวัน 1 คืน
ไปหลวงพระบาง ค้าง 2 คืน แล้วขึ้นเครื่องการบินลาวกลับมาเวียงจันทน์
ขึ้นรถกลับมาสะพานมิตรภาพฯ ต่อรถตู้มาสนามบินอุดรธานี
มีรายละเอียดการเดินทาง ดังนี้
วันที่เราออกเดินทางคือวันที่ 3 ธ.ค.53 โชคดีที่ไม่เป็นวันที่ 2 ธ.ค. เนื่องจากเป็นวันชาติของลาว ดังนั้นทุกๆ ที่จะปิดทำการทั้งหมด
เราเดินทางมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประมาณ 6.00 น.เพื่อขึ้นเครื่อง Air Asia เที่ยวบินที่ FD3360ออกจากสุวรรณภูมิ 7.25 น.ถึงอุดรธานี 8.25 น. รอเพื่อนขับรถมาจากโคราชมาสมทบอีก 2 คน
หากต้องไปเองก็มีรถตู้ไปที่ด่านคิดคนละ 180 บาท ใช้เวลาประมาณ 40 นาที
เมื่อถึงด่านเอารถฝากไว้แล้ว (วันละ 100 บาท) ที่รับฝากรถมีรถสกายแลปมาส่งที่ด่าน ตรวจ ตม.ของไทยก่อน เนื่องจากเราใช้ Passport ในการเข้าเมืองดังนั้นสามารถอยู่ได้นาน 30 วัน หากเป็น Boarder Pass จะสามารถอยู่ได้แค่ 3 วันเท่านั้น
จากนั้นเราก็จ่ายเงินค่ารถบัสข้ามสะพาน ราคาคนละ 15 บาท
รถเป็นอย่างนี้
บนรถบัสข้ามสะพาน เราต้องยืนไปไม่มีที่นั่ง(ขึ้นช้า)
ข้ามไปฝั่งลาวเราต้องกรอกใบเข้าประเทศ และตรวจ passport อีกรอบ
ออกมาแล้วจะมีพวกรถแท็กซี่มาถาม ไปนู่นไปนี่
เรามีเวลาน้อยจึงจองรถตู้พร้อมคนขับมาก่อนหน้าแล้ว ราคารวมค่าน้ำมัน 3 วัน ราคา 13,000.-บาท
แนะนำว่าหากข้ามฝั่งมาแล้วให้แลกเงินกีบที่แบงค์ตรงนั้นไว้เลย เพราะจะได้มีเงินไว้ใช้ซื้อของ กินข้าว
และอัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าที่อื่น 1 บาทแลกได้ 267 กีบ ซึ่งปกติมักแลกได้ 250 กีบเท่านั้น
คิดง่ายๆ 1,000 กีบ เท่ากับ 4 บาท
10,000 กีบ 400 บาท โดยประมาณ (แต่เราได้กำไร)
แลกมามีเงินเป็นล้านๆ เลย
หากจะใช้เงินบาทเลยก็ไม่มีปัญหาเพราะตามร้านอาหารส่วนใหญ่จะคิดมาให้ทั้งเิงินกีบและเงินบาท
ถ้ามียูเอสดอลล่าร์ก็ได้เหมือนกันแต่จะขาดทุนนิดหน่อย
เราแวะหาอะไรทานกันก่อนที่จะเดินทางไปวังเวียง (เราไม่แวะเที่ยวเวียงจันทน์เพราะมากันหลายครั้งแล้ว)
พี่คนขับ (คุณสมนึก) แนะนำร้านเฝอดังในเมืองเวียงจันทน์ ชื่อ บ้านพิมมะจัน
มีเฝอทั้งหมูและเนื้อ แยกหม้ออย่างเด่นชัด
นั่งปุ๊บจะมีเครื่องเคียงมาให้ก่อน
ที่นี่เน้นผัก มะนาวให้ไม่อั้นผิดกับบ้านเราหวงมะนาวจัง
ชามนี้เนื้อ
ชามนี้หมู
ราคาชามละ 10,000 กีบ 40 บาท อาหารที่ลาวแพงกว่าบ้านเราเป็นเท่าตัว
แต่เค้าก็มีกล้วยไข่เป็นของหวานให้ทานฟรี
อิ่มท้องกันแล้ว เราออกเดินทางสู่เมืองวังเวียงที่ที่มีธรรมชาติ ขุนเขางดงาม มีกิจกรรมต่างๆ เช่น ล่องห่วงยาง (ระหว่างทางมีเบียร์ให้ซื้อตลอดทาง) เรือคายัก ขึ้นบอลลูน นั่งเรือหางยาวชมทิวทัศน์ ฯลฯ
วังเวียงขึ้นไปทางเหนือของเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร แต่ถนนไม่ค่อยดีนัก เป็นหลุมเป็นบ่อเนื่องจากขาดงบประมาณซ่อมบำรุง
ทำให้ไม่สามารถใช้ความเร็วได้ จึงใช้เวลาค่อนข้างนานประมาณ 3-4 ชั่วโมง
และแล้วเราก็เริ่มเข้าสู่เมืองวังเวียง หากเห็นวิวเช่นนี้
ที่ลาวใช้ผลิตภัณฑ์ของไทยเกือบจะทุกอย่าง ทีวีก็รับของไทยได้ทั้งนั้น
และนี่ก็เป็นอีกผลิตภัณฑ์
จุดแรกที่เราแวะชมคือ ถ้ำจัง อยู่ในวังเวียงรีสอร์ท
ต้องจ่ายค่าเข้าที่หน้าทางเข้าคนละ 2000 กีบ ยานพาหนะ 5000 กีบ
เราข้ามสะพานสีแดงไปยังถ้ำ
ทางเดินไปยังทางขึ้นถ้ำจัง
ก่อนขึ้นต้องจ่ายเงินอีกคนละ 15,000 กีบ
ทางขึ้นถ้ำจังค่อนข้างชัน
ขึ้นไปแล้วมองลงมายังด้านล่าง วิวช่างงดงามจริงๆ
ภายในถ้ำ
เข้าเมืองวังเวียงหาที่พัก
อันแรกที่เข้าไปชื่อ ทวีสุข เลี้ยวปุ๊บเห็นแต่รถทัวร์ รถตู้จากเมืองไทยเพียบ
คนขับแนะนำที่ำพักในเมือง (กลางใจเมือง) ชื่อเรือนพักดอกคูน คืนละ 300 บาท
มีแอร์ น้ำอุ่น ทีวีให้เสร็จ ห้องใหญ่ ไม่มีวิว
สะอาดใช้ได้ แล้วออกมาหาอะไรกิน เดินไปเดินมาดูไม่เห็นมีอะไรกินเลย
ยกเว้นร้านนี้ดูดีสุด คือมีย่างหมู ปิ้งไก่ให้เห็นจะจะ ฝรั่งนั่งเพียบ
บรรยากาศในร้าน
ร้านนี้ชื่อร้านชนะชัย
ส้มตำลาว
ขอบอกอร่อยมาก ไม่เหม็นกลิ่นปลาร้าเลย
หมูย่าง
ค่าเสียหายงานนี้ 215,000
เสร็จแล้วไปเดินย่อยชมเมืองวังเวียง
ตอนเช้าเราก็ไปสำรวจตลาดเช้าที่วังเวียงกัน
มาดูว่าชาววังเวียงขายอะไรกันบ้างดีกว่านะคะ
รูปแรกเอาแบบธรรมดาๆ ก่อนละกัน
เป็นสาหร่ายน้ำจืด หรือที่คนลาวเรียกว่า ไค ที่เราเคยเห็นก็เป็นไคแผ่นทอดโรยงา
คนลาวเอาไปทำแกงกัน
นี่เป็นพืชจำพวกฟัก
มะกอก
มาดูของแปลกกันบ้างค่ะ
ขาเลียงผา กับเลือด ข้างๆ เป็นเนื้อ
รูปต่อไปขอไม่บรรยาย
แม่ค้า
เสร็จแล้วมีเวลาเดินเล่นริมน้ำซอง
ไปสะพานไม้ไผ่ที่อีกฟากของแม่น้ำมีบังกะโลน่ารักๆ 2 แห่ง (คราวหน้าจะมาพัก)
บรรยากาศดี ไม่ต้องมีแอร์ ขอน้ำอุ่นแทน
ราคาห้องพักไม่แพงนักประมาณ 300-500 บาท แล้วแต่ว่าจะเอาห้องน้ำรวมหรือห้องน้ำในตัวสะพานไม้ไผ่นี้ต้องทำใหม่ทุกปี เนื่องจากในฤดูฝนน้ำหลาก หากไม่เก็บสะพานก็ไม่เหลือ
มีกิจกรรมมากมาย เช่นล่องห่วงยาง (ตอนนั้นยังเช้าเลยยังไม่มีใครมา) ขึ้นบอลลูนชมวิว(ราคาไม่แพงมากคนละ 400 บาท) เดินป่า ฯลฯ
แล้วก็ไปสะพานเหล็กสะพานเดียวของวังเวียง
ก่อนจะข้ามจะต้องทำดังนี้
ตอนแรกจะคิดคนละ 10,000 กีบ ต่อรองไปมาเค้าคงงง
สรุปจ่ายค่าข้ามสะพาน 5 คน 100 บาท ตกคนละ 5,000 กีบ
หากไม่อยากจ่ายเงินจะต้องทำอย่างนี้ (ลุยน้ำข้ามมา)
ชมวิวสวยๆ
พาหนะที่ใช้กันที่นี่
และแล้วท้องก็เริ่มร้อง ไปหาอะไรทานกันเถอะ
นี่เลยท่าทางโอเค อยู่ข้างๆ โรงแรมอินทิรา
บั๋นก๋วน หรือข้าวเกรียบปากหม้อญวน ราคา 8,000 กีบ
ข้าวเปียก หรือ ก๋วยจั๊บญวน ราคา 10,000 กีบ
อิ่มท้องแล้วออกเดินทางต่อไปแขวงเชียงขวาง
ขึ้นไปทางเหนือถึง 3 แยกพูคูนแล้วเลี้ยวขวา หากเลี้ยวซ้ายจะไปหลวงพระบาง
ถนนเริ่มคดเคี้ยว ยิ่งกว่าไปแม่ฮ่องสอนอีก
ผ่าน เมืองกาสีพักเข้าห้องน้ำ
ระหว่างทางจะเห็นวิวอย่างนี้ตลอดทาง (บางคนไม่เห็นเนื่องจากทานยาแก้เมา หลับดีกว่า)
แวะภูเพียงฟ้า ชมวิว
เชียงขวางติดกับประเทศเวียดนาม
เราใช้เวลานั่งรถตู้จากวังเวียงไปเมืองโพนสะหวันประมาณ 5 ชั่วโมง
ทางคดเคี้ยวตลอด
(รุ่นพี่บอกว่าเขานั่งรถโดยสารสาธารณะจากวังเวียงไปโพนสะหวันใช้เวลา 10 ชั่วโมง)
ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลปานกลางคือประมาณ 1200 เมตร
เดิมชื่อเมืองพวนแขวงนี้ถูกถล่มอย่างร้ายแรงในช่วงสงครามเวียดนาม คร่าผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
บ้านเมืองเสียหาย เดิมเชียงขวางเคยมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าชุกชุม เมื่อโดนระเบิดสารเคมี
และระเบิดต่างๆ ที่เหลือจากการทิ้งที่เวียดนาม ก็มาทิ้งที่นี่
ปัจจุบันเหลือแต่เขาหัวโล้น (ตอนแรกนึกว่าตัดไม้ทำลายป่า)
เป็นเหตุให้ต้องย้ายเมืองเอกจากเมืองเชียงขวางมาเป็นเมืองโพนสะหวัน (เมืองแปก)
แล้วทำไมพวกเราจึงอยากไปน่ะหรือ
คงไม่ใช่อยากไปดูความเสียหาย พังทะลาย
เราอยากไปดูทุ่งไหหินต่างหาก (อย่างอื่นเป็นผลพลอยได้)
ทุ่งไหหิน (Plain of Jars) เป็นทุ่งหญ้าบนเนินเขาที่มีภาชนะคล้ายๆ โอ่งเรียงรายอยู่ทั่วไป
สันนิษฐานว่าไหเหล่านี้สร้างขึ้นมา 3-4 พันปีมาแล้ว
ซึ่งบ้างก็ว่าใช้เก็บศพ เนื่องจากขุดเจอลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับสำริด
บ้างก็ว่าเป็นไหใส่เหล้าของขุนเจือง ในการฉลองหลังจากญวนตีเมืองได้
ปัจจุบันสามารถเข้าชมได้ 3 จุด
เราไปจุดที่ 1 เท่านั้น เนื่องจากเป็นจุดที่ไปชมสะดวกที่สุด
ห่างจากโพนสะหวันไปทาง ตอ./ใต้ประมาณ 12 กม.
และเป็นจุดที่มีไหมากที่สุดประมาณ 200-300 ใบ
เสียค่าเข้าชมคนละ 10,000 กีบ
การเดินไปชม ขอเน้นว่าให้เดินในทางที่กำหนดไว้เท่านั้น
เนื่องจากยังมีระเบิดที่ยังไม่ได้เก็บกู้อีกมาก อาจจะโดนลูกหลงได้
กลุ่มแรก
มีไหที่ใหญ่ที่สุด
ฟ้าสีฟ้ากับดอกหญ้าที่ทุ่งไหหิน
อีกกลุ่มนึงต้องเดินลงมาจากเนินที่มีไหใบใหญ่
มีไหใบเดียวที่มีฝาปิด
พระอาทิตย์กำลังจะลับฟ้า แสงทองสุดท้ายส่องที่ทุ่งไหหิน
กำลังจะไปแล้ว
หลุมที่โดนระเบิดลง
จากนั้นเรากลับเข้าไปพักที่เมืองโพนสะหวัน
แต่เนีืื่องจากวันรุ่งขึ้นเป็นวันปีใหม่ของชาวม้ง หรือที่เรียกกันว่าเทศกาลกินเจียง
ทำให้ม้งจากทุกสารทิศกลับมาบ้าน
โดยเฉพาะม้งที่อพยพไปอยู่อเมริกาจะกลับมาเยี่ยมบ้าน
ซึ่งมีผลกระทบกับเราคือที่พักเต็มเกือบหมด
เราเข้าพักที่เรือนพักตรงสามแยกทางขึ้นเหนือของถนนสาย 7
ด้านหน้าเป็นร้านขายยามีห้องพัก 4 ห้อง คืนละ 120,000 กีบ
มีห้องน้ำ น้ำร้อน ทีวี
แต่ไม่มีทางเลือกมาก และนอนไม่นานนัก จึงจำยอม
อากาศที่นี่หนาวตลอดทั้งปี ตอนที่เราไปตอนกลางคืนและเช้ามึดหนาวมาก
ขนาดพูดเป็นไอ
เรารีบตื่นตั้งแต่ตี 4 ครึ่ง เพื่อไปดูตลาดม้งซึ่งจะมีตลาดนัดทุกวันอาทิตย์
ตลาดนี้ออกจากเมืองโพนสะหวันประมาณ 32 กม.ไปตามทางหมายเลข 7
หรือไปทางหนองแฮด เมืองชายแดนประเทศเีวียดนาม
คนขับต้องค่อยๆ ขับเนื่องจากหมอกลงจัด ทางโค้งไปมา
เราไปถึงในขณะที่ชาวบ้านกำลังขนของมา มันยังมึดมาก
เพื่อความปลอดภัยเรารออยู่บนรถ จนฟ้าสว่าง
ของที่ชาวบ้านเอามาขายก็มี
ขนม
ผู้คนคึกคัก
ขายเส้นก๋วยเตี๋ยว ชั่งแบบดั้งเดิม
หรือจะเป็น...นี่
ของใช้ในครัวเรือน
เด็กๆ เยอะ เลยถ่ายมาให้ชมกันค่ะ
มาซื้อเสื้อผ้าใหม่
มีให้เลือกสรรมากมาย
พอกลับขึ้นรถ เราก็ทราบว่ามีปัญหากันเล็กน้อย
เนื่องจากมีเพื่อนคนหนึ่งถ่ายวีดีโอแล้วโดนตำรวจเรียกไปคุย
ไม่ให้ถ่าย พวกเราจึงรีบขึ้นรถแล้วไปเลย ไม่งั้นคงจะเป็นเรื่องยาวแน่
เมืองนี้ยังเป็นเมืองปิด พวกทหารตำรวจจะเรียกไปไถเงิน
เวลาเดินต้องระมัดระวัง เพราะใกล้ชายแดนเวียดนาม
ร้านอาหารที่โพนสะหวันไม่ค่อยดีนัก
เราเลือกทานร้านที่รู้สึกว่าสะอาด ไม่ได้คำนึงถึงรสชาด
เนื่องจากการเดินทางยังอีกยาวไกล
ระหว่างทางเราจะเห็นเขาหัวโล้นอย่างนี้
เพราะโดนลูกอย่างนี้ แบบห่าฝน
เราเดินทางจากโพนสะหวันสู่หลวงพระบาง ใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง
ระหว่างทางอันคดเคี้ยวจะมีบ้านม้งอยู่ข้างทาง
ขับไม่ดีอาจเข้าไปเยี่ยมอย่างใกล้ชิดได้
ก็ดูทางสิคะ
เขาว่าทางมาหลวงพระบางมีโค้งไม่มากหรอก
มีแค่ 3 โค้ง (จะเป็นไปได้เหรอ)
คำตอบคืำอ โค้งซ้าย โค้งขวาและ อีกโค้งคือ โค้งอันตราย แฮะๆ หัวเราะไม่ออกเลยอ่ะ
และแล้วเราก็กลับมาถึง 3 แยกพูคูนอีกครั้ง
แวะเข้าห้องน้ำ เก็บคนละ 1,000 กีบ
ชาวบ้านขายของกลางแยกเลย (มาจากเชียงขวาง)
มุมนี้หากมาจากวังเวียง ไปหลวงพระบางเลี้ยวซ้าย
มีของแปลกๆ มาขายหลายอย่าง เช่น Batman
นางอาย
มีพาหนะหลากหลายแบบ เช่น
หรือจะเป็นคันนี้ เจ้าของเป็นคนนิวยอร์ค ขี่มาจากพนมเปญ
แยกพูคูนกำลังขยาย มีการก่อสร้าง เป็นที่เล่น slider อย่างสนุกสนานของเด็ก
ระหว่างทางไปหลวงพระบาง หากไม่ชินทางอาจเกิดอุบัติเหตุ
เหมือนรถคันนี้ ขนเหล็กเส้นมาจากเมืองไทย พวงมาลัยอยู่ขวา และคงจะมีรถตัดหน้า
ทำให้รถเสียหลักพุ่งชนเขา (จริงๆ เราเจอพวกเขาตอนออกจากวังเวียงไปเชียงขวาง)
แวะเติมน้ำมันกันหน่อย
หลวงพระบาง
ชื่อเป็นทางการว่า นครหลวงพระบาง หรือที่ชาวลาวเรียกว่า เมืองหลวง
เป็นราชธานีเก่าของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าชีวิตก่อนที่ลาวจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
เมื่องหลวงพระบางตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน
มีวัดเก่าแก่มากมาย และยังรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้อย่างดี
ไม่มีการขึ้นตึกสูงๆ แบบบ้านเรา จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกในปี พ.ศ.2540
เข้าเมืองหลวงพระบาง เรารีบหาที่พักกันก่อน เอาแบบสะดวก เพราะเราไม่มีรถแล้ว
เอากลางเมืองเลย ได้ที่เรือนพักจันทะนอม คืนละ 500 บาท อยู่ห่างจากวิลล่าที่ถ่ายหนังเรื่องสบายดีหลวงพระบางมานิดนึง เดินออกมานิดนึงเป็นแม่น้ำโขง
ด้านหน้าของเรือนพัก
สภาพห้องสะอาด ถ้าไม่คำนึงถึงวิวหรือความกว้างของห้อง ก็โอเลย
แล้วเราก็เริ่มออกตระเวนเที่ยวกันเลย
ร้านนี้อยู่ใกล้ๆ พระราชวัง น่ารักดี
เรามาถึงก็บ่ายห้าโมงกว่าๆ แล้ว ขึ้นพระธาตุภูสีเลยละกัน
พระธาตุภูสี ตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับพระราชวัง
เป็นภูเขากลางเมืองหลวงพระบาง สูงประมาณ 150 เมตร บันไดขึ้น 328 ขั้น
ระหว่างทางปลูกต้นลีลาวดีไว้ (คนลาวเรียกดอกจำปา เป็นสัญลักษณ์ของ ส.ป.ป. ลาว)
ทางขึ้นพระธาตุ
หลังจากทางขึ้นชันๆ นี้ ก็จะมีที่เก็บเงิน คนละ 20,000 กีบ
แล้วขึ้นไปนมัสการพระธาตุ
มองลงมาจะเห็นวิวทิวเขาน้อยใหญ่ ลดหลั่นกันไป
ถนนที่เห็นเป็นถนนสายหลักของเมืองหลวงพระบาง
ข้างๆ นั้นเป็นแม่น้ำคาน
ตอนเราขึ้นไป ทำไมคนเริ่มเยอะขึ้น
อ๋อ..เขามารอชมพระอาทิตย์ตกกัน
สวยงามมาก พระอาทิตย์ตกหลังเขา มีแม่น้ำโขงอยู่ด้านหน้า โรแมนติกจัง
หากมองลงมาอีกด้าน จะเห็นวิวแม่น้ำโขง
ขากลับลงมาที่ถนนเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินไปซะแล้ว
มีอะไรขายบ้าง ไปดูกัน (ดูๆ ไปแล้วของเหมือนกันกับที่ถนนคนเดินที่เชียงใหม่เลย)
ราคาก็แพงกว่าด้วย ไปดูละกันว่าเค้าขายอะไรกัน
สารพัดผ้า
เครื่องเงินในร้าน
เบื่อก็หาร้านนั่งกิน ชิลๆ
หากมีเงินน้อย แนะนำอย่างนี้ดีกว่า
เป็นบุฟเฟ่ 10,000 กีบ ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไประหว่างทางถนนคนเดิน
มีหลายเจ้าให้เลือกสรร หากไม่ทานแป้งก็มีพวกปิ้งๆ ขายด้วยกัน ทั้งปิ้งไก่ ปิ้งหมู ปิ้งปลา
ตำส้ม แซ่บหลาย ติดใจอยากไปกินอีก
คืนนี้มี Film Festivel ฉายหนังเรื่อง สบายดีหลวงพระบางภาค 1
ตอนเช้าจะใส่บาตร เลยสั่งที่เรือนพักให้หุงข้าวให้
คิด กก.ละ 15,000 บาท ใส่กระติ๊บมาให้
พระท่านจะทำวัตรเช้า แล้วออกบิณฑบาตรเป็นทิวแถว
บรรยากาศกลางเมืองหลวงพระบาง
ไปแวะชมตลาดเช้ากันดีกว่า
แล้วเราก็แวะทานบั๋นก๋วน
เราจ้างรถสองแถวมารับที่ที่พัก เพื่อไปถ้าติ่ง
ถ้ำติ่งสามารถนั่งเรือไปได้ ชมแม่น้ำโขงไปเรื่อยๆ ห่างจากหลวงพระบางประมาณ 40 กม.
แต่ต้องใช้เวลา หากตามน้ำก็เร็วหน่อย ทวนน้ำก็ประมาณ 1.5 ชม.ได้
แต่เรามีเวลาจำกัดจึงต้องนั่งรถไปจะดีกว่า 1,500 บาท/วัน
นั่งรถไปประมาณ 1 ชม. ตอนแรกเป็นถนนลาดยาง
พอเข้าซอยไปเป็นถนนฝุ่นตลบ
โชคดีที่รถตู้ข้างหลังไม่แซงเรา ไม่งั้นหัวแดงแน่ๆ
รถสองแถวมาจอดที่ลานจอดรถ บ้านปากอู
ระหว่างทางเดินไปท่าเรือจะมีแผงขายผ้าของชาวบ้าน
แล้วเราก็มาขึ้นเรือข้ามฟากที่ร้านอาหารตรงนี้
ค่าเรือข้ามฟากไป-กลับคนละ 10,000 กีบ
ตรงจุดนี้เป็นที่รวมของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำอู
มองไปก็จะเห็นถ้ำติ่งอยู่ด้านหน้า
ภายในถ้ำติ่งจะมีพระพุทธรูปมากมายที่คนนำมาวางเรียงรายไว้มากมาย
มีทั้งสำริด ไม้ ปูนปั้น
ที่่ท่า..
จากนั้นไปแวะที่บ้านช่างไห
เป็นที่ต้มเหล้าจากข้่าวเหนียว
แล้วเอามาใส่ขวดต่างๆ อย่างนี้
กรรมวิธีการต้ม
ระหว่างทางจะมีของขาย
แล้วไปวัดโพนเพา
หิวมาก แวะทานข้าวซอยหน้าวัดวิชุน
ข้าวซอยไม่เหมือนบ้านเราเลย ชามละ 10,000 กีบ
หากเข้าห้องน้ำที่นี่ต้องระวัง นิสนึง หากจะตักน้ำราดส้วมให้ดูด้วย
ระวังตักเอาปลาเงินปลาทองเค้าลงส้วมไปด้วย
(ถามเจ้าของร้านบอกว่าเลี้ยงไว้กินลูกน้ำ เราถามไปว่า แล้วมีลูกค้าตักราดส้วมด้วยเปล่า
เค้าว่ามีค่ะ) สงสารปลาว่ะ
เข้าไปในวัดวิชุน
พอถ่ายรูปนี้เสร็จ ก็ต้องหัวเราะ (เอ..มิควร)
คือมีคู่ฝรั่งให้พระถ่ายรูปให้ แล้วฝรั่งทั้ง 2 ก็แอคท่ากอดกันให้พระถ่าย
พระท่านก็เต็มใจถ่ายให้มาก
ลงทุนนั่งยองๆ ลงไปถ่ายให้ น้องอีกคนกำลังจะเข้าไปช่วยถ่าย ปรากฎช้าไปแล้วท่านนั่งลงไปถ่ายให้แล้ว
เลยได้เก็บภาพมาให้ดู
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ควรศึกษาวัฒนธรรมของแต่ละประเทศก่อนนะจ๊ะ
ที่นี่แปลกดีคือไม่ได้เก็บค่าเข้าตรงประตูทางเข้าวัด
แต่เก็บเงิน 20,000 กีบ หากเข้าไปไว้พระในโบสถ์อ่ะ
จากนั้นเราไปต่อกันที่วัดเชียงทอง
วัดนี้ที่ทุกคนจะเห็นตามโปสการ์ด หนังสือท่องเที่ยว ดังนั้นหากไม่มาวัดนี้คงมาไม่ถึงหลวงพระบาง
ตรงนี้เป็นที่เก็บราชรถที่บรรทุกโกศ
ภายใน
หากวัดใดมีฉัตรบนโบสถ์มากอย่างนี้ จะเป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง
แนะนำว่าควรมาวัดเชียงทองช่วงบ่ายๆ เพราะแดดจะส่องต้นทองพอดี
สวยงามมาก
แวะชมพระราชวัง
ถ่ายรูปด้านนอกก่อนแสงกำลังดี
ถ่ายไปถ่ายมาเฮ้ย..เค้าจะปิดแล้ว ยังไม่ได้เข้าไปไหว้พระบางเลยอ่ะ
น้องที่ไปด้วยบอกว่าเขาเอาพระบางออกมาให้สักการะ
ไม่เป็นไรอยู่ใกล้ๆ พรุ่งนี้มาใหม่ละกัน
มาเดินเล่นชมเมืองกัน
ร้านนี้เพิ่งทำใหม่ ยังไม่เปิด น่ารักดี
ร้านนี้คนเยอะตลอด
บรรยากาศตอนกลางคืน
ร้านนี้ขายผ้าและกระเป๋าไอเดียดี
แต่ราคาค่อนข้างแพง
เห็นว่าร้านนี้ถ่ายลงในหนังสบายดีหลวงพระบางด้วย
ร้านไวน์ร้านนี้น่านั่งมากก คนแน่นตลอดเหมือนกัน
ลองซักนิด..อยากรู้ อยากลอง
ตอนแรกโต๊ะด้านหน้าเต็ม เลยต้องนั่งข้างใน
สั่งไวน์มาลองกัน
จะสั่งเป็นแก้วก็ไม่คุ้ม เอาทั้งขวดเลยละกัน
ไวน์ชิลี ราคาประมาณ 600 บาท ก็ไม่แพงอย่างที่คิด
ตอนเช้ามาใส่บาตร
เห็นสาวลาวแท้ๆ มาใส่ด้วยเลยเก็บรูปมาให้ดู
เดินเล่นรอบๆ เมืองก่อนกลับเมืองไทย
เอ่อ...ลืมบอกไป เรากลับไปพระราชวังหรือพิพิธภัณฑ์แล้ว
แต่....เป็นความไม่รอบคอบของเรา คือเค้าปิดวันอังคารค่ะ
เสียดายจัง...
เลยไปเดินเล่นริมน้ำคาน
นี่เรือนพักสายน้ำคาน คราวหน้าจะมาพักบ้าง
คืนละ 1200 บาท แต่ต้องรีบจองนะคะ เต็มตลอด
เดินไปเรื่อยๆ เริ่มหิวแล้ว แวะทานข้าวต้มกระดูกหมู หน้าวัดใหม่ ชามละ 7,000 กีบ
มีเฝอด้วย ราคาชามละ 10,000 กีบ
เสร็จแล้วก็เดินถ่ายรูปในวัดใหม่
วัดป่าไผ่ ที่ทหารไทยสร้างไว้
แวะทานกาแฟร้านเก๋ๆ (คราวนี้ยังไม่มีโอกาสแวะไปกินกาแฟร้าน Joma)
ร้านนี้ชื่อ กาแฟบ้านวัดแสน
ภายในร้าน
ร้านอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียน
เด็กนักเรียนกำลังออกกำลังกายตอนเช้า
บ้างก็เล่นกระต่ายขาเดียว
หรือกินขนม
ถนนนี้มีโรงแรมสวยๆ เพียบ ราคาก็ไม่ค่อยจะสวย
นี่คือวิลล่าสันติ
อันนี้น่ารักมากก แต่แพงงง ชื่อ 3 Nagas
มี 2 ฝั่งถนน
อีกฝั่งหนึ่ง น่ารักดี เตียงมีเสาไม้ 4 ต้น
อันนี้เป็นเรือนพักที่ด้านหน้าตักบาตรข้าวเหนียวเลย
หรือจะเป็นวิลล่าจำปา ที่มาถ่ายสบายดีหลวงพระบาง
มีร้านนวดน่ารัก
ร้านอาหารน่านั่ง
เวลาหมด จะต้องรีบไปเก็บของไปสนามบินแล้ว
ไปด้วยพาหนะ สกายแล็ป 50,000 กีบ นั่งไปประมาณ 30 นาที
เค้าบอกให้ไปเช็คอินก่อนเวลาเครื่องออก 2 ชม. ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ
เราบินการบินลาวกลับเวียงจันทน์ (นั่งรถกลับไม่ไหวแล้ว และไม่มีเวลาด้วย)
ค่าเครื่องบินประมาณ 2,000 บาทนิดๆ
เช็คอินเคาน์เตอร์
เช็คอินเข้าไปแล้วมีร้านอาหารเพียงร้านเดียว
เครื่องใบพัด สัมภาระเก็บไว้ด้านหน้าเครื่อง
บนเครื่อง
อ่านแผ่นนี้เพื่อความปลอดภัย...
บนเครื่องแจกน้ำ และผลไม้อบแห้ง (อร่อยมาก จะขออีกก็ไม่มีแล้ว)
ตอนลงแอบดูทุกที่นั่งเลยว่ามีใครไม่เอาแล้ววางไว้บ้าง
ได้มา 1 อัน อิอิ
ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที มาลงสนามบินวัดไต
มีห้องเกียรติยศด้วย
นั่งรถมาลงที่สะพานมิตรภาพไทยลาว
แลกเงินกลับที่เดิม
อย่าลืมเก็บเงินไว้คนละ 4,000 กีบค่าภาษีด้วยนะจ๊ะ
ขอแวะที่ร้านดาวเรืองเพื่อซื้อผลไม้อบแห้งเหมือนที่แจกบนเครื่อง
ถุงละ 150 บาท (แพงอ่ะ)
ข้ามสะพานกลับมามีแท็กซี่ถามไปสนามบินอุดรฯจะคิด 800 บาท
เดินมาอีกเหลือ 500 บาท
แต่เราก็ยังหยิ่ง มาขึ้นรถสกายแล็ป 60 บาทไปขึ้นรถตู้ คนละ 150 บาท ไปสนามบิน
ขอจบการเดินทางในครั้งนี้ค่ะ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะคะ
หลวงวิจิตรวาทการกล่าวไว้ในพงศาวดารว่า ก่อนที่ไทจะอพยพจากประเทศจีนตอนใต้มาอยู่ที่อินโดจีนนั้น
ดินแดนของประเทศลาวในปัจจุบันเป็นที่อยู่ของพวกละว้า หรือ ลัวะ เมื่อพวกไทอพยพมาอยู่รวมเป็นเผ่าเดียวกัน กลายเป็นลาว ดังนั้นคนไทยกับคนลาวสืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกัน แต่ลาวมีชนกลุ่มน้อยหลายเผ่า ลาวแท้ๆ นั้นมีอยู่เพียงร้อยละ 50 เท่านั้น ปัจจุบันสามารถแบ่งประชากรลาวออกเป็น 3 ชนชาติใหญ่ ดังนี้
1. ลาวลุ่ม อาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีอยู่ประมาณร้อยละ 70 เช่น ลาวพวน ไทลื้อ
2. ลาวเทิง อาศัยอยู่บริเวณที่สูงไม่เกิน 1,000 เมตร
3. ลาวสูง เป็นชาวเขาอาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่เป็นชาวม้ง มูเซอ
เมืองหลวง
เวียงจันทน์
ภูมิอากาศ ลาว มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคนถึงตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
ซึ่งเวลาที่แนะนำให้มาท่องเที่ยวคือในช่วงฤดูหนาว แต่อย่างไรก็ตามช่วงเทศกาลสงกรานต์ของลาวเราก็ไม่ควรพลาด
การปกครอง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ ส.ป.ป.ลาว ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม มีพรรคการเมืองพรรคเดียวคือพรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีประมุขคือประธานพรรค หรือประธานประเทศ แบ่งการปกครองเป็น 18 แขวง
ภาษา
เคยคุยกับคนลาวเป็นภาษาอังกฤษ แต่เขากลับพูดภาษาไทยอิสานกับเรา ส่วนคนลาวทางตอนเหนือจะพูดคล้ายๆ คนเชียงราย หรือเชียงใหม่ ทำให้เรารู้สึกว่าไทยกับลาวเป็นพี่เป็นน้องกัน แต่คนลาวบางคนสามารถใช้ภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสได้ดีอีกด้วย
วันเวลาที่เดินทาง
3 - 7 ธ.ค.53
การเดินทาง
เนื่องจากเรามีงบประมาณไม่มาก แต่ก็ไม่มีเวลามากนัก แถมต้องการท่องเที่ยวให้ทั่ว การเดินทางจึงเป็นดังนี้
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - อุดรธานี ด้วย FD 3360
อุดรธานี - สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว เนื่องจากมีผู้ร่วมเดินทางขับรถมาจากโคราช เลยติดรถไปด้วย
ฝากรถที่หนองคายวันละ 100 บาท
เช่ารถตู้มารับที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
ไปวังเวียง ค้างวังเวียง 1 คืน
นั่งรถต่อไปเชียงขวาง เมืองโพนสะหวัน ค้างโพนสะหวัน 1 คืน
ไปหลวงพระบาง ค้าง 2 คืน แล้วขึ้นเครื่องการบินลาวกลับมาเวียงจันทน์
ขึ้นรถกลับมาสะพานมิตรภาพฯ ต่อรถตู้มาสนามบินอุดรธานี
มีรายละเอียดการเดินทาง ดังนี้
วันที่เราออกเดินทางคือวันที่ 3 ธ.ค.53 โชคดีที่ไม่เป็นวันที่ 2 ธ.ค. เนื่องจากเป็นวันชาติของลาว ดังนั้นทุกๆ ที่จะปิดทำการทั้งหมด
เราเดินทางมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประมาณ 6.00 น.เพื่อขึ้นเครื่อง Air Asia เที่ยวบินที่ FD3360ออกจากสุวรรณภูมิ 7.25 น.ถึงอุดรธานี 8.25 น. รอเพื่อนขับรถมาจากโคราชมาสมทบอีก 2 คน
หากต้องไปเองก็มีรถตู้ไปที่ด่านคิดคนละ 180 บาท ใช้เวลาประมาณ 40 นาที
เมื่อถึงด่านเอารถฝากไว้แล้ว (วันละ 100 บาท) ที่รับฝากรถมีรถสกายแลปมาส่งที่ด่าน ตรวจ ตม.ของไทยก่อน เนื่องจากเราใช้ Passport ในการเข้าเมืองดังนั้นสามารถอยู่ได้นาน 30 วัน หากเป็น Boarder Pass จะสามารถอยู่ได้แค่ 3 วันเท่านั้น
จากนั้นเราก็จ่ายเงินค่ารถบัสข้ามสะพาน ราคาคนละ 15 บาท
รถเป็นอย่างนี้
บนรถบัสข้ามสะพาน เราต้องยืนไปไม่มีที่นั่ง(ขึ้นช้า)
ข้ามไปฝั่งลาวเราต้องกรอกใบเข้าประเทศ และตรวจ passport อีกรอบ
ออกมาแล้วจะมีพวกรถแท็กซี่มาถาม ไปนู่นไปนี่
เรามีเวลาน้อยจึงจองรถตู้พร้อมคนขับมาก่อนหน้าแล้ว ราคารวมค่าน้ำมัน 3 วัน ราคา 13,000.-บาท
แนะนำว่าหากข้ามฝั่งมาแล้วให้แลกเงินกีบที่แบงค์ตรงนั้นไว้เลย เพราะจะได้มีเงินไว้ใช้ซื้อของ กินข้าว
และอัตราแลกเปลี่ยนดีกว่าที่อื่น 1 บาทแลกได้ 267 กีบ ซึ่งปกติมักแลกได้ 250 กีบเท่านั้น
คิดง่ายๆ 1,000 กีบ เท่ากับ 4 บาท
10,000 กีบ 400 บาท โดยประมาณ (แต่เราได้กำไร)
แลกมามีเงินเป็นล้านๆ เลย
หากจะใช้เงินบาทเลยก็ไม่มีปัญหาเพราะตามร้านอาหารส่วนใหญ่จะคิดมาให้ทั้งเิงินกีบและเงินบาท
ถ้ามียูเอสดอลล่าร์ก็ได้เหมือนกันแต่จะขาดทุนนิดหน่อย
เราแวะหาอะไรทานกันก่อนที่จะเดินทางไปวังเวียง (เราไม่แวะเที่ยวเวียงจันทน์เพราะมากันหลายครั้งแล้ว)
พี่คนขับ (คุณสมนึก) แนะนำร้านเฝอดังในเมืองเวียงจันทน์ ชื่อ บ้านพิมมะจัน
มีเฝอทั้งหมูและเนื้อ แยกหม้ออย่างเด่นชัด
นั่งปุ๊บจะมีเครื่องเคียงมาให้ก่อน
ที่นี่เน้นผัก มะนาวให้ไม่อั้นผิดกับบ้านเราหวงมะนาวจัง
ชามนี้เนื้อ
ชามนี้หมู
ราคาชามละ 10,000 กีบ 40 บาท อาหารที่ลาวแพงกว่าบ้านเราเป็นเท่าตัว
แต่เค้าก็มีกล้วยไข่เป็นของหวานให้ทานฟรี
อิ่มท้องกันแล้ว เราออกเดินทางสู่เมืองวังเวียงที่ที่มีธรรมชาติ ขุนเขางดงาม มีกิจกรรมต่างๆ เช่น ล่องห่วงยาง (ระหว่างทางมีเบียร์ให้ซื้อตลอดทาง) เรือคายัก ขึ้นบอลลูน นั่งเรือหางยาวชมทิวทัศน์ ฯลฯ
วังเวียงขึ้นไปทางเหนือของเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร แต่ถนนไม่ค่อยดีนัก เป็นหลุมเป็นบ่อเนื่องจากขาดงบประมาณซ่อมบำรุง
ทำให้ไม่สามารถใช้ความเร็วได้ จึงใช้เวลาค่อนข้างนานประมาณ 3-4 ชั่วโมง
และแล้วเราก็เริ่มเข้าสู่เมืองวังเวียง หากเห็นวิวเช่นนี้
ที่ลาวใช้ผลิตภัณฑ์ของไทยเกือบจะทุกอย่าง ทีวีก็รับของไทยได้ทั้งนั้น
และนี่ก็เป็นอีกผลิตภัณฑ์
จุดแรกที่เราแวะชมคือ ถ้ำจัง อยู่ในวังเวียงรีสอร์ท
ต้องจ่ายค่าเข้าที่หน้าทางเข้าคนละ 2000 กีบ ยานพาหนะ 5000 กีบ
เราข้ามสะพานสีแดงไปยังถ้ำ
ทางเดินไปยังทางขึ้นถ้ำจัง
ก่อนขึ้นต้องจ่ายเงินอีกคนละ 15,000 กีบ
ทางขึ้นถ้ำจังค่อนข้างชัน
ขึ้นไปแล้วมองลงมายังด้านล่าง วิวช่างงดงามจริงๆ
ภายในถ้ำ
เข้าเมืองวังเวียงหาที่พัก
อันแรกที่เข้าไปชื่อ ทวีสุข เลี้ยวปุ๊บเห็นแต่รถทัวร์ รถตู้จากเมืองไทยเพียบ
คนขับแนะนำที่ำพักในเมือง (กลางใจเมือง) ชื่อเรือนพักดอกคูน คืนละ 300 บาท
มีแอร์ น้ำอุ่น ทีวีให้เสร็จ ห้องใหญ่ ไม่มีวิว
สะอาดใช้ได้ แล้วออกมาหาอะไรกิน เดินไปเดินมาดูไม่เห็นมีอะไรกินเลย
ยกเว้นร้านนี้ดูดีสุด คือมีย่างหมู ปิ้งไก่ให้เห็นจะจะ ฝรั่งนั่งเพียบ
บรรยากาศในร้าน
ร้านนี้ชื่อร้านชนะชัย
ส้มตำลาว
ขอบอกอร่อยมาก ไม่เหม็นกลิ่นปลาร้าเลย
หมูย่าง
ค่าเสียหายงานนี้ 215,000
เสร็จแล้วไปเดินย่อยชมเมืองวังเวียง
ตอนเช้าเราก็ไปสำรวจตลาดเช้าที่วังเวียงกัน
มาดูว่าชาววังเวียงขายอะไรกันบ้างดีกว่านะคะ
รูปแรกเอาแบบธรรมดาๆ ก่อนละกัน
เป็นสาหร่ายน้ำจืด หรือที่คนลาวเรียกว่า ไค ที่เราเคยเห็นก็เป็นไคแผ่นทอดโรยงา
คนลาวเอาไปทำแกงกัน
นี่เป็นพืชจำพวกฟัก
มะกอก
มาดูของแปลกกันบ้างค่ะ
ขาเลียงผา กับเลือด ข้างๆ เป็นเนื้อ
รูปต่อไปขอไม่บรรยาย
แม่ค้า
เสร็จแล้วมีเวลาเดินเล่นริมน้ำซอง
ไปสะพานไม้ไผ่ที่อีกฟากของแม่น้ำมีบังกะโลน่ารักๆ 2 แห่ง (คราวหน้าจะมาพัก)
บรรยากาศดี ไม่ต้องมีแอร์ ขอน้ำอุ่นแทน
ราคาห้องพักไม่แพงนักประมาณ 300-500 บาท แล้วแต่ว่าจะเอาห้องน้ำรวมหรือห้องน้ำในตัวสะพานไม้ไผ่นี้ต้องทำใหม่ทุกปี เนื่องจากในฤดูฝนน้ำหลาก หากไม่เก็บสะพานก็ไม่เหลือ
มีกิจกรรมมากมาย เช่นล่องห่วงยาง (ตอนนั้นยังเช้าเลยยังไม่มีใครมา) ขึ้นบอลลูนชมวิว(ราคาไม่แพงมากคนละ 400 บาท) เดินป่า ฯลฯ
แล้วก็ไปสะพานเหล็กสะพานเดียวของวังเวียง
ก่อนจะข้ามจะต้องทำดังนี้
ตอนแรกจะคิดคนละ 10,000 กีบ ต่อรองไปมาเค้าคงงง
สรุปจ่ายค่าข้ามสะพาน 5 คน 100 บาท ตกคนละ 5,000 กีบ
หากไม่อยากจ่ายเงินจะต้องทำอย่างนี้ (ลุยน้ำข้ามมา)
ชมวิวสวยๆ
พาหนะที่ใช้กันที่นี่
และแล้วท้องก็เริ่มร้อง ไปหาอะไรทานกันเถอะ
นี่เลยท่าทางโอเค อยู่ข้างๆ โรงแรมอินทิรา
บั๋นก๋วน หรือข้าวเกรียบปากหม้อญวน ราคา 8,000 กีบ
ข้าวเปียก หรือ ก๋วยจั๊บญวน ราคา 10,000 กีบ
อิ่มท้องแล้วออกเดินทางต่อไปแขวงเชียงขวาง
ขึ้นไปทางเหนือถึง 3 แยกพูคูนแล้วเลี้ยวขวา หากเลี้ยวซ้ายจะไปหลวงพระบาง
ถนนเริ่มคดเคี้ยว ยิ่งกว่าไปแม่ฮ่องสอนอีก
ผ่าน เมืองกาสีพักเข้าห้องน้ำ
ระหว่างทางจะเห็นวิวอย่างนี้ตลอดทาง (บางคนไม่เห็นเนื่องจากทานยาแก้เมา หลับดีกว่า)
แวะภูเพียงฟ้า ชมวิว
เชียงขวางติดกับประเทศเวียดนาม
เราใช้เวลานั่งรถตู้จากวังเวียงไปเมืองโพนสะหวันประมาณ 5 ชั่วโมง
ทางคดเคี้ยวตลอด
(รุ่นพี่บอกว่าเขานั่งรถโดยสารสาธารณะจากวังเวียงไปโพนสะหวันใช้เวลา 10 ชั่วโมง)
ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลปานกลางคือประมาณ 1200 เมตร
เดิมชื่อเมืองพวนแขวงนี้ถูกถล่มอย่างร้ายแรงในช่วงสงครามเวียดนาม คร่าผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
บ้านเมืองเสียหาย เดิมเชียงขวางเคยมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าชุกชุม เมื่อโดนระเบิดสารเคมี
และระเบิดต่างๆ ที่เหลือจากการทิ้งที่เวียดนาม ก็มาทิ้งที่นี่
ปัจจุบันเหลือแต่เขาหัวโล้น (ตอนแรกนึกว่าตัดไม้ทำลายป่า)
เป็นเหตุให้ต้องย้ายเมืองเอกจากเมืองเชียงขวางมาเป็นเมืองโพนสะหวัน (เมืองแปก)
แล้วทำไมพวกเราจึงอยากไปน่ะหรือ
คงไม่ใช่อยากไปดูความเสียหาย พังทะลาย
เราอยากไปดูทุ่งไหหินต่างหาก (อย่างอื่นเป็นผลพลอยได้)
ทุ่งไหหิน (Plain of Jars) เป็นทุ่งหญ้าบนเนินเขาที่มีภาชนะคล้ายๆ โอ่งเรียงรายอยู่ทั่วไป
สันนิษฐานว่าไหเหล่านี้สร้างขึ้นมา 3-4 พันปีมาแล้ว
ซึ่งบ้างก็ว่าใช้เก็บศพ เนื่องจากขุดเจอลูกปัด เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับสำริด
บ้างก็ว่าเป็นไหใส่เหล้าของขุนเจือง ในการฉลองหลังจากญวนตีเมืองได้
ปัจจุบันสามารถเข้าชมได้ 3 จุด
เราไปจุดที่ 1 เท่านั้น เนื่องจากเป็นจุดที่ไปชมสะดวกที่สุด
ห่างจากโพนสะหวันไปทาง ตอ./ใต้ประมาณ 12 กม.
และเป็นจุดที่มีไหมากที่สุดประมาณ 200-300 ใบ
เสียค่าเข้าชมคนละ 10,000 กีบ
การเดินไปชม ขอเน้นว่าให้เดินในทางที่กำหนดไว้เท่านั้น
เนื่องจากยังมีระเบิดที่ยังไม่ได้เก็บกู้อีกมาก อาจจะโดนลูกหลงได้
กลุ่มแรก
มีไหที่ใหญ่ที่สุด
ฟ้าสีฟ้ากับดอกหญ้าที่ทุ่งไหหิน
อีกกลุ่มนึงต้องเดินลงมาจากเนินที่มีไหใบใหญ่
มีไหใบเดียวที่มีฝาปิด
พระอาทิตย์กำลังจะลับฟ้า แสงทองสุดท้ายส่องที่ทุ่งไหหิน
กำลังจะไปแล้ว
หลุมที่โดนระเบิดลง
จากนั้นเรากลับเข้าไปพักที่เมืองโพนสะหวัน
แต่เนีืื่องจากวันรุ่งขึ้นเป็นวันปีใหม่ของชาวม้ง หรือที่เรียกกันว่าเทศกาลกินเจียง
ทำให้ม้งจากทุกสารทิศกลับมาบ้าน
โดยเฉพาะม้งที่อพยพไปอยู่อเมริกาจะกลับมาเยี่ยมบ้าน
ซึ่งมีผลกระทบกับเราคือที่พักเต็มเกือบหมด
เราเข้าพักที่เรือนพักตรงสามแยกทางขึ้นเหนือของถนนสาย 7
ด้านหน้าเป็นร้านขายยามีห้องพัก 4 ห้อง คืนละ 120,000 กีบ
มีห้องน้ำ น้ำร้อน ทีวี
แต่ไม่มีทางเลือกมาก และนอนไม่นานนัก จึงจำยอม
อากาศที่นี่หนาวตลอดทั้งปี ตอนที่เราไปตอนกลางคืนและเช้ามึดหนาวมาก
ขนาดพูดเป็นไอ
เรารีบตื่นตั้งแต่ตี 4 ครึ่ง เพื่อไปดูตลาดม้งซึ่งจะมีตลาดนัดทุกวันอาทิตย์
ตลาดนี้ออกจากเมืองโพนสะหวันประมาณ 32 กม.ไปตามทางหมายเลข 7
หรือไปทางหนองแฮด เมืองชายแดนประเทศเีวียดนาม
คนขับต้องค่อยๆ ขับเนื่องจากหมอกลงจัด ทางโค้งไปมา
เราไปถึงในขณะที่ชาวบ้านกำลังขนของมา มันยังมึดมาก
เพื่อความปลอดภัยเรารออยู่บนรถ จนฟ้าสว่าง
ของที่ชาวบ้านเอามาขายก็มี
ขนม
ผู้คนคึกคัก
ขายเส้นก๋วยเตี๋ยว ชั่งแบบดั้งเดิม
หรือจะเป็น...นี่
ของใช้ในครัวเรือน
เด็กๆ เยอะ เลยถ่ายมาให้ชมกันค่ะ
มาซื้อเสื้อผ้าใหม่
มีให้เลือกสรรมากมาย
พอกลับขึ้นรถ เราก็ทราบว่ามีปัญหากันเล็กน้อย
เนื่องจากมีเพื่อนคนหนึ่งถ่ายวีดีโอแล้วโดนตำรวจเรียกไปคุย
ไม่ให้ถ่าย พวกเราจึงรีบขึ้นรถแล้วไปเลย ไม่งั้นคงจะเป็นเรื่องยาวแน่
เมืองนี้ยังเป็นเมืองปิด พวกทหารตำรวจจะเรียกไปไถเงิน
เวลาเดินต้องระมัดระวัง เพราะใกล้ชายแดนเวียดนาม
ร้านอาหารที่โพนสะหวันไม่ค่อยดีนัก
เราเลือกทานร้านที่รู้สึกว่าสะอาด ไม่ได้คำนึงถึงรสชาด
เนื่องจากการเดินทางยังอีกยาวไกล
ระหว่างทางเราจะเห็นเขาหัวโล้นอย่างนี้
เพราะโดนลูกอย่างนี้ แบบห่าฝน
เราเดินทางจากโพนสะหวันสู่หลวงพระบาง ใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง
ระหว่างทางอันคดเคี้ยวจะมีบ้านม้งอยู่ข้างทาง
ขับไม่ดีอาจเข้าไปเยี่ยมอย่างใกล้ชิดได้
ก็ดูทางสิคะ
เขาว่าทางมาหลวงพระบางมีโค้งไม่มากหรอก
มีแค่ 3 โค้ง (จะเป็นไปได้เหรอ)
คำตอบคืำอ โค้งซ้าย โค้งขวาและ อีกโค้งคือ โค้งอันตราย แฮะๆ หัวเราะไม่ออกเลยอ่ะ
และแล้วเราก็กลับมาถึง 3 แยกพูคูนอีกครั้ง
แวะเข้าห้องน้ำ เก็บคนละ 1,000 กีบ
ชาวบ้านขายของกลางแยกเลย (มาจากเชียงขวาง)
มุมนี้หากมาจากวังเวียง ไปหลวงพระบางเลี้ยวซ้าย
มีของแปลกๆ มาขายหลายอย่าง เช่น Batman
นางอาย
มีพาหนะหลากหลายแบบ เช่น
หรือจะเป็นคันนี้ เจ้าของเป็นคนนิวยอร์ค ขี่มาจากพนมเปญ
แยกพูคูนกำลังขยาย มีการก่อสร้าง เป็นที่เล่น slider อย่างสนุกสนานของเด็ก
ระหว่างทางไปหลวงพระบาง หากไม่ชินทางอาจเกิดอุบัติเหตุ
เหมือนรถคันนี้ ขนเหล็กเส้นมาจากเมืองไทย พวงมาลัยอยู่ขวา และคงจะมีรถตัดหน้า
ทำให้รถเสียหลักพุ่งชนเขา (จริงๆ เราเจอพวกเขาตอนออกจากวังเวียงไปเชียงขวาง)
แวะเติมน้ำมันกันหน่อย
หลวงพระบาง
ชื่อเป็นทางการว่า นครหลวงพระบาง หรือที่ชาวลาวเรียกว่า เมืองหลวง
เป็นราชธานีเก่าของอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งเป็นที่ประทับของเจ้าชีวิตก่อนที่ลาวจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
เมื่องหลวงพระบางตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน
มีวัดเก่าแก่มากมาย และยังรักษารูปแบบดั้งเดิมไว้อย่างดี
ไม่มีการขึ้นตึกสูงๆ แบบบ้านเรา จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกในปี พ.ศ.2540
เข้าเมืองหลวงพระบาง เรารีบหาที่พักกันก่อน เอาแบบสะดวก เพราะเราไม่มีรถแล้ว
เอากลางเมืองเลย ได้ที่เรือนพักจันทะนอม คืนละ 500 บาท อยู่ห่างจากวิลล่าที่ถ่ายหนังเรื่องสบายดีหลวงพระบางมานิดนึง เดินออกมานิดนึงเป็นแม่น้ำโขง
ด้านหน้าของเรือนพัก
สภาพห้องสะอาด ถ้าไม่คำนึงถึงวิวหรือความกว้างของห้อง ก็โอเลย
แล้วเราก็เริ่มออกตระเวนเที่ยวกันเลย
ร้านนี้อยู่ใกล้ๆ พระราชวัง น่ารักดี
เรามาถึงก็บ่ายห้าโมงกว่าๆ แล้ว ขึ้นพระธาตุภูสีเลยละกัน
พระธาตุภูสี ตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับพระราชวัง
เป็นภูเขากลางเมืองหลวงพระบาง สูงประมาณ 150 เมตร บันไดขึ้น 328 ขั้น
ระหว่างทางปลูกต้นลีลาวดีไว้ (คนลาวเรียกดอกจำปา เป็นสัญลักษณ์ของ ส.ป.ป. ลาว)
ทางขึ้นพระธาตุ
หลังจากทางขึ้นชันๆ นี้ ก็จะมีที่เก็บเงิน คนละ 20,000 กีบ
แล้วขึ้นไปนมัสการพระธาตุ
มองลงมาจะเห็นวิวทิวเขาน้อยใหญ่ ลดหลั่นกันไป
ถนนที่เห็นเป็นถนนสายหลักของเมืองหลวงพระบาง
ข้างๆ นั้นเป็นแม่น้ำคาน
ตอนเราขึ้นไป ทำไมคนเริ่มเยอะขึ้น
อ๋อ..เขามารอชมพระอาทิตย์ตกกัน
สวยงามมาก พระอาทิตย์ตกหลังเขา มีแม่น้ำโขงอยู่ด้านหน้า โรแมนติกจัง
หากมองลงมาอีกด้าน จะเห็นวิวแม่น้ำโขง
ขากลับลงมาที่ถนนเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินไปซะแล้ว
มีอะไรขายบ้าง ไปดูกัน (ดูๆ ไปแล้วของเหมือนกันกับที่ถนนคนเดินที่เชียงใหม่เลย)
ราคาก็แพงกว่าด้วย ไปดูละกันว่าเค้าขายอะไรกัน
สารพัดผ้า
เครื่องเงินในร้าน
เบื่อก็หาร้านนั่งกิน ชิลๆ
หากมีเงินน้อย แนะนำอย่างนี้ดีกว่า
เป็นบุฟเฟ่ 10,000 กีบ ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไประหว่างทางถนนคนเดิน
มีหลายเจ้าให้เลือกสรร หากไม่ทานแป้งก็มีพวกปิ้งๆ ขายด้วยกัน ทั้งปิ้งไก่ ปิ้งหมู ปิ้งปลา
ตำส้ม แซ่บหลาย ติดใจอยากไปกินอีก
คืนนี้มี Film Festivel ฉายหนังเรื่อง สบายดีหลวงพระบางภาค 1
ตอนเช้าจะใส่บาตร เลยสั่งที่เรือนพักให้หุงข้าวให้
คิด กก.ละ 15,000 บาท ใส่กระติ๊บมาให้
พระท่านจะทำวัตรเช้า แล้วออกบิณฑบาตรเป็นทิวแถว
บรรยากาศกลางเมืองหลวงพระบาง
ไปแวะชมตลาดเช้ากันดีกว่า
แล้วเราก็แวะทานบั๋นก๋วน
เราจ้างรถสองแถวมารับที่ที่พัก เพื่อไปถ้าติ่ง
ถ้ำติ่งสามารถนั่งเรือไปได้ ชมแม่น้ำโขงไปเรื่อยๆ ห่างจากหลวงพระบางประมาณ 40 กม.
แต่ต้องใช้เวลา หากตามน้ำก็เร็วหน่อย ทวนน้ำก็ประมาณ 1.5 ชม.ได้
แต่เรามีเวลาจำกัดจึงต้องนั่งรถไปจะดีกว่า 1,500 บาท/วัน
นั่งรถไปประมาณ 1 ชม. ตอนแรกเป็นถนนลาดยาง
พอเข้าซอยไปเป็นถนนฝุ่นตลบ
โชคดีที่รถตู้ข้างหลังไม่แซงเรา ไม่งั้นหัวแดงแน่ๆ
รถสองแถวมาจอดที่ลานจอดรถ บ้านปากอู
ระหว่างทางเดินไปท่าเรือจะมีแผงขายผ้าของชาวบ้าน
แล้วเราก็มาขึ้นเรือข้ามฟากที่ร้านอาหารตรงนี้
ค่าเรือข้ามฟากไป-กลับคนละ 10,000 กีบ
ตรงจุดนี้เป็นที่รวมของแม่น้ำโขงกับแม่น้ำอู
มองไปก็จะเห็นถ้ำติ่งอยู่ด้านหน้า
ภายในถ้ำติ่งจะมีพระพุทธรูปมากมายที่คนนำมาวางเรียงรายไว้มากมาย
มีทั้งสำริด ไม้ ปูนปั้น
ที่่ท่า..
จากนั้นไปแวะที่บ้านช่างไห
เป็นที่ต้มเหล้าจากข้่าวเหนียว
แล้วเอามาใส่ขวดต่างๆ อย่างนี้
กรรมวิธีการต้ม
ระหว่างทางจะมีของขาย
แล้วไปวัดโพนเพา
หิวมาก แวะทานข้าวซอยหน้าวัดวิชุน
ข้าวซอยไม่เหมือนบ้านเราเลย ชามละ 10,000 กีบ
หากเข้าห้องน้ำที่นี่ต้องระวัง นิสนึง หากจะตักน้ำราดส้วมให้ดูด้วย
ระวังตักเอาปลาเงินปลาทองเค้าลงส้วมไปด้วย
(ถามเจ้าของร้านบอกว่าเลี้ยงไว้กินลูกน้ำ เราถามไปว่า แล้วมีลูกค้าตักราดส้วมด้วยเปล่า
เค้าว่ามีค่ะ) สงสารปลาว่ะ
เข้าไปในวัดวิชุน
พอถ่ายรูปนี้เสร็จ ก็ต้องหัวเราะ (เอ..มิควร)
คือมีคู่ฝรั่งให้พระถ่ายรูปให้ แล้วฝรั่งทั้ง 2 ก็แอคท่ากอดกันให้พระถ่าย
พระท่านก็เต็มใจถ่ายให้มาก
ลงทุนนั่งยองๆ ลงไปถ่ายให้ น้องอีกคนกำลังจะเข้าไปช่วยถ่าย ปรากฎช้าไปแล้วท่านนั่งลงไปถ่ายให้แล้ว
เลยได้เก็บภาพมาให้ดู
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ควรศึกษาวัฒนธรรมของแต่ละประเทศก่อนนะจ๊ะ
ที่นี่แปลกดีคือไม่ได้เก็บค่าเข้าตรงประตูทางเข้าวัด
แต่เก็บเงิน 20,000 กีบ หากเข้าไปไว้พระในโบสถ์อ่ะ
จากนั้นเราไปต่อกันที่วัดเชียงทอง
วัดนี้ที่ทุกคนจะเห็นตามโปสการ์ด หนังสือท่องเที่ยว ดังนั้นหากไม่มาวัดนี้คงมาไม่ถึงหลวงพระบาง
ตรงนี้เป็นที่เก็บราชรถที่บรรทุกโกศ
ภายใน
หากวัดใดมีฉัตรบนโบสถ์มากอย่างนี้ จะเป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง
แนะนำว่าควรมาวัดเชียงทองช่วงบ่ายๆ เพราะแดดจะส่องต้นทองพอดี
สวยงามมาก
แวะชมพระราชวัง
ถ่ายรูปด้านนอกก่อนแสงกำลังดี
ถ่ายไปถ่ายมาเฮ้ย..เค้าจะปิดแล้ว ยังไม่ได้เข้าไปไหว้พระบางเลยอ่ะ
น้องที่ไปด้วยบอกว่าเขาเอาพระบางออกมาให้สักการะ
ไม่เป็นไรอยู่ใกล้ๆ พรุ่งนี้มาใหม่ละกัน
มาเดินเล่นชมเมืองกัน
ร้านนี้เพิ่งทำใหม่ ยังไม่เปิด น่ารักดี
ร้านนี้คนเยอะตลอด
บรรยากาศตอนกลางคืน
ร้านนี้ขายผ้าและกระเป๋าไอเดียดี
แต่ราคาค่อนข้างแพง
เห็นว่าร้านนี้ถ่ายลงในหนังสบายดีหลวงพระบางด้วย
ร้านไวน์ร้านนี้น่านั่งมากก คนแน่นตลอดเหมือนกัน
ลองซักนิด..อยากรู้ อยากลอง
ตอนแรกโต๊ะด้านหน้าเต็ม เลยต้องนั่งข้างใน
สั่งไวน์มาลองกัน
จะสั่งเป็นแก้วก็ไม่คุ้ม เอาทั้งขวดเลยละกัน
ไวน์ชิลี ราคาประมาณ 600 บาท ก็ไม่แพงอย่างที่คิด
ตอนเช้ามาใส่บาตร
เห็นสาวลาวแท้ๆ มาใส่ด้วยเลยเก็บรูปมาให้ดู
เดินเล่นรอบๆ เมืองก่อนกลับเมืองไทย
เอ่อ...ลืมบอกไป เรากลับไปพระราชวังหรือพิพิธภัณฑ์แล้ว
แต่....เป็นความไม่รอบคอบของเรา คือเค้าปิดวันอังคารค่ะ
เสียดายจัง...
เลยไปเดินเล่นริมน้ำคาน
นี่เรือนพักสายน้ำคาน คราวหน้าจะมาพักบ้าง
คืนละ 1200 บาท แต่ต้องรีบจองนะคะ เต็มตลอด
เดินไปเรื่อยๆ เริ่มหิวแล้ว แวะทานข้าวต้มกระดูกหมู หน้าวัดใหม่ ชามละ 7,000 กีบ
มีเฝอด้วย ราคาชามละ 10,000 กีบ
เสร็จแล้วก็เดินถ่ายรูปในวัดใหม่
วัดป่าไผ่ ที่ทหารไทยสร้างไว้
แวะทานกาแฟร้านเก๋ๆ (คราวนี้ยังไม่มีโอกาสแวะไปกินกาแฟร้าน Joma)
ร้านนี้ชื่อ กาแฟบ้านวัดแสน
ภายในร้าน
ร้านอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียน
เด็กนักเรียนกำลังออกกำลังกายตอนเช้า
บ้างก็เล่นกระต่ายขาเดียว
หรือกินขนม
ถนนนี้มีโรงแรมสวยๆ เพียบ ราคาก็ไม่ค่อยจะสวย
นี่คือวิลล่าสันติ
อันนี้น่ารักมากก แต่แพงงง ชื่อ 3 Nagas
มี 2 ฝั่งถนน
อีกฝั่งหนึ่ง น่ารักดี เตียงมีเสาไม้ 4 ต้น
อันนี้เป็นเรือนพักที่ด้านหน้าตักบาตรข้าวเหนียวเลย
หรือจะเป็นวิลล่าจำปา ที่มาถ่ายสบายดีหลวงพระบาง
มีร้านนวดน่ารัก
ร้านอาหารน่านั่ง
เวลาหมด จะต้องรีบไปเก็บของไปสนามบินแล้ว
ไปด้วยพาหนะ สกายแล็ป 50,000 กีบ นั่งไปประมาณ 30 นาที
เค้าบอกให้ไปเช็คอินก่อนเวลาเครื่องออก 2 ชม. ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ
เราบินการบินลาวกลับเวียงจันทน์ (นั่งรถกลับไม่ไหวแล้ว และไม่มีเวลาด้วย)
ค่าเครื่องบินประมาณ 2,000 บาทนิดๆ
เช็คอินเคาน์เตอร์
เช็คอินเข้าไปแล้วมีร้านอาหารเพียงร้านเดียว
เครื่องใบพัด สัมภาระเก็บไว้ด้านหน้าเครื่อง
บนเครื่อง
อ่านแผ่นนี้เพื่อความปลอดภัย...
บนเครื่องแจกน้ำ และผลไม้อบแห้ง (อร่อยมาก จะขออีกก็ไม่มีแล้ว)
ตอนลงแอบดูทุกที่นั่งเลยว่ามีใครไม่เอาแล้ววางไว้บ้าง
ได้มา 1 อัน อิอิ
ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที มาลงสนามบินวัดไต
มีห้องเกียรติยศด้วย
นั่งรถมาลงที่สะพานมิตรภาพไทยลาว
แลกเงินกลับที่เดิม
อย่าลืมเก็บเงินไว้คนละ 4,000 กีบค่าภาษีด้วยนะจ๊ะ
ขอแวะที่ร้านดาวเรืองเพื่อซื้อผลไม้อบแห้งเหมือนที่แจกบนเครื่อง
ถุงละ 150 บาท (แพงอ่ะ)
ข้ามสะพานกลับมามีแท็กซี่ถามไปสนามบินอุดรฯจะคิด 800 บาท
เดินมาอีกเหลือ 500 บาท
แต่เราก็ยังหยิ่ง มาขึ้นรถสกายแล็ป 60 บาทไปขึ้นรถตู้ คนละ 150 บาท ไปสนามบิน
ขอจบการเดินทางในครั้งนี้ค่ะ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามนะคะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)