ในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
เราได้มีโอกาสแวะไปเที่ยวเมืองน่าน
คราวนี้เราเดินทางโดยรถยนต์คู่ใจ (พี่บึกบึน) ออกจาก กรุงเทพประมาณเที่ยงครึ่งของวันที่ 12 เม.ย.54
เนื่องจากติดประชุมช่วงเช้า
การจราจรคล่องตัว รถมาก
เราแวะทานข้าวกลางวันที่แม่ลาปลาเผาริมถนนสายเอเชีย (เพื่อไม่ให้เสียเวลา)
จากนั้นเดินทางเข้าสู่นครสวรรค์ ผ่านไปพิจิตร ถนนค่อนข้างชำรุด
ผ่านพิษณุโลกไปยังอุตรดิตถ์ ถนนตรงยาวมากกกจนข้างทางมีป้ายเขียนว่าระวังหลับใน
เริ่มหิวข้าวแต่ก็ผ่านร้านลมเย็นไปซะแล้ว และคงจะไม่ย้อนกลับ
ทางระหว่างอุตรดิตถ์ไปแพร่กำลังปรับปรุงถนนช่วงระหว่างเขา
ที่สุดเราแวะทานข้าวเย็นกันที่แพร่ เป็นร้านก่อนเข้าเมือง สั่งออเดริฟเมือง แกงฮังเล อาหารรสชาติโอเค
แล้วก็ตรงเข้าเมืองน่าน
น่านไม่ใช่เป็นเมืองผ่านแบบจังหวัดอื่นทั่วไป คือจากแพร่จะมีแยกขวาไปน่าน แยกซ้ายจะไปพเยาว์และเชียงราย
ถนนเป็นเลนสวนกัน ทางค่อนข้างคดเคี้ยว แต่ไม่ชัน ขับเรื่อยๆ
เที่ยวแบบเราไม่ได้จองที่พักล่วงหน้า แต่ได้หาข้อมูลไว้ก่อนแล้ว จึงโทรไปลองดูว่าที่พักว่างหรือไม่
เราโทรไปที่พักชื่อจันทร์แดงเกสต์เฮาส์ ซึ่งได้สำรวจในอินเตอร์เน็ตมาเป็นเกสต์เฮาส์แบบไทยๆ คล้ายๆ พักบ้านญาติมีเพียง 7 ห้องเท่านั้น
อยู่บน ถ.สุมนเทวราช อ.เมือง (ถนนหลักของเมืองน่าน)
โทร : 086-9986522, 054-771417
เราโชคดีมากที่มีห้องว่างให้เนืี่่องจากคนที่จองมามาไม่ทัน
คุณป้าดำเจ้าของเป็นคนรับโทรศัพท์ เป็นคนบอกทางและรอจนกว่าเราไปถึง
คุณป้าน่ารักมาก เป็นกันเองสุดๆ
ด้านหลังมีที่จอดรถได้ประมาณ 3 คัน และคุณป้ากำลังขยายกิจการ สร้างบ้านด้านหลังเพิ่มอีก
หากมาหน้าหนาวหน้าคงจะได้พักกัน
ห้องนอนน่ารักมาก ประตูมี 2 บานมีไม้ขัดตรงกลาง
มีห้องน้ำในตัว แอร์ ตู้เย็น TV WiFi และอาหารเช้าให้
ราคา 1000 บาทต่อคืน หากเป็นห้องด้านหน้าจะมีระเบียงให้ออกมานั่งเล่นด้วยราคา 1200 บาท
อีกห้องสามารถพักได้ 6 คนมีเตียง 2 ชั้นด้วย
ห้องน้ำภายในห้อง
ระเบียง
อาคารด้านหลัง
มีจักรยานให้ด้วย
หรือจะเป็น... 55555
เช้าวันสงกรานต์เรามีแผนว่าจะอยู่ในเมืองเพื่อถ่ายรูป และไหว้พระตามวัดต่างๆ ในเมือง
นอกจากนั้นคุณป้าบอกว่ามีงานบุญที่วัด และมีขบวนแห่นางสงกรานต์
และแล้วได้ยินฝนตกตั้งแต่เช้ามึด เฮ่อ ฟ้าฝนไม่เป็นใจซะเลย
ว่าจะไปตักบาตรฝนกระหน่ำอย่างนี้นอนต่อละกัน
กว่าฝนจะซา ก็ 9 โมงลงมาทานอาหารเช้า มีน้ำเต้าหู้ โจ๊ก ชา กาแฟ มาม่า ผลไม้ไว้ให้
หน้าบ้านคุณป้าเตรียมถัง 200 ลิตรไว้ใส่น้ำเล่นสงกรานต์อีกต่างหาก
อีกสักรูป จากด้านหลัง
เช้านี้เราไปวัดสวนตาลก่อน เนื่องจากมีตักบาตร สรงน้ำพระ/เจดีย์แต่เช้า
มีทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ ครอบครัว ต่างแต่งตัวด้วยชุดเมืองมาทำบุญกัน
ดีใจอยากให้อนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างนี้ไว้นานๆ
จากนั้นเราไปเริ่มกันที่ข่วงเมืองหน้าวัดภูมินทร์กัน
ข่วงเมือง = บริเวณที่โล่งหรือลานกว้างของเมืองใช้ประกอบพิธีการต่างๆ ของเจ้าเมืองน่าน
ในสมัยโบราณ ซึ่งบางครั้งใช้เป็นที่แลกเปลี่ยนสินค้า
ด้านนอกของวัดภูมินทร์ มีสิงห์คู่
ภายในโบสถ์สามารถเดินรอบพระประธาน ซึ่งมี 4 หน้า
มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอายุนับร้อยปี เกี่ยวกับการทำบาปต่างๆ จะต้องได้รับกรรมแบบใด
ที่สำคัญมีรูปปู่ม่านกระซิบรักย่าม่าน ซึ่งเป็นตำนานรักของชาวน่าน ให้รักกันยืนนานตลอดไป
ออกมาจากวัดูมินทร์เจอร้านกาแฟบ้านคุณหลวงอยู่ฝั่งตรงกันข้าม เลยแวะดื่มสักหน่อย
จากนั้นข้ามถนนไปยังวัดพระธาตุช้างคำวรวิหาร
อีกฝั่งถนนเป็นพิพิธภัณฑ์ของจังหวัด ด้านในจะมีงาช้างดำสิ่งคู่บ้านคู่เมืองน่าน
ซึ่งปิดช่วงสงกรานต์ ก็เลยอดเข้าไปดู แต่ขอพี่ยามเข้าไปถ่ายรูปเนวต้นลั่นทมแทน
ถ่ายไปถ่ายมาพวกคุณลุงคุณป้าเค้ามาตั้งขบวนสงกรานต์ตรงนี้ ก็เลยหยุดอยู่ถ่ายรูปกันตรงนี้เลย
ได้ภาพป้าๆ รำกัน นางงามที่เตรียมขึ้นประกวดใส่รองเท้าส้นสูงปรื๊ด เดินกระย่องกระแย่ง ดีจังเค้ายังอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอยู่อย่างดี รอจนเค้าเริ่มเดินขบวน จะถ่ายรูปก็ต้องระวังกล้องมากๆ อย่าเข้าไปในฝูงชนมาก กล้องอาจจมน้ำได้
ถ่ายเสร็จท้องชักจะเริ่มร้อง ไปหาอะไรทานกันดีกว่า สงกรานต์ร้านปิดไปเล่นน้ำกันเกือบหมด รถในเมืองก็ติดอย่าบอกใครเชียว
แต่โชคยังช่วยได้ข้าวซอยร้านแถวๆ สี่แยกช้างเผือกช่วยชีวิต (ไม่อยากบอกข้าวซอยเนื้อรสดีเชียว)
และไปต่อกันทีวัดที่ผู้คนนับถือและศรัทธามาก และสำคัญที่สุดของน่าน หากไม่ไปถือว่ามาไม่ถึงน่าน คือวัดพระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีของคนเกิดปีเถาะ โชคไม่มดีตอนเราไปกำลังมีการบุรณะปฏิสังขรอยู่
ด้านในจะมีพระพุทธรูปประธานพระวิหารหลวง พระเจ้าอุ่นเมืองพระพุทธรูปทองคำ และพระเจ้าอุ่นเมือง
มื้อเย็นกลับมาหาอะไรทานที่ลานข้างข่วงเมือง เป็นคล้ายๆ ถนนคนเดิน มีอาหารขาย มีที่ให้นั่งกลางสนามหญ้า เสร็จแล้วก็ถ่ายวิถีชีวิตยามค่ำคืน ได้ไปอีกบรรยากาศนึง
วันที่สอง
เราออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังอำเภอปัว เพื่อที่จะเดินทางต่อไปยังอุทยานแห่งชาติดอยภูคา คุณทราบไหมว่า...ที่น่านเพียงจังหวัดเดียวมีอุทยานแห่งชาติตั้ง 4 แห่ง เยอะจริงๆ
ระหว่างทางจากตัวเมืองน่านถึงอำเภอปัวทางดี สวย มีต้นไม้ร่มรื่น ระหว่างทางมีเล่นน้ำสงกรานต์กันประปราย
ปัวเป็นอำเภอเล็กๆ แต่ก็มีโลตัสเอ็กเพรสเปิดแล้ว เราเตรียมเสบียง น้ำไว้กันเหนียว
จากนั้นก็เริ่มหนทางคดเคี้ยวกันเลย (แต่ไม่ชันหรือทรหดเท่าทางจากดอยอินทนนท์ไปแม่แจ่ม) พี่บึกบึนพาเราค่อยๆ ไต่เขาขึ้นไปเรื่อยๆ จนไปถึงอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เสียตังค์เข้าอุทยานแล้วเข้าไปเยี่ยมที่ทำการ อากาศที่นี่เย็นๆ ชื้นๆ ตอนกลางคืนขนาดหน้าร้อนอากาศประมาณสิบหกองศาเซลเซียสเท่านั้นเสียดายที่เรามาช้า ดอกชมพูภูคาเพิ่งร่วงไปเมื่อประมาณสองอาทิตย์ก่อน (ควรมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม) ปีนี้อากาศแปรปรวนทำให้ออกดอกช้ากว่าปกติ ที่นี่มีที่พักของอุทยานไว้ให้บริการ หากเป็นฤดูหนาวคงต้องจองล่วงหน้ากันนานๆ ถึงจะได้พัก
จากนั้นเราเดินทางมุ่งหน้าไปยังอำเภอบ่อเกลือ ที่แต่ก่อนชาวบ้านทำเกลือสินเธาว์กัน วันที่เราไปเขาหยุดสงกรานต์จึงไม่เห็นภาพ ที่บ่อเกลือมีที่พักหลายแห่งเหมือนกัน ที่บ่อเกลือมีแม่น้ำไหลผ่านชื่อแม่น้ำมาง จากนั้นเราแวะอุทยาน...ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อขึ้นไปด้านบนเป็นอุทยาน (ไม่มีอะไรน่าสนใจนัก)
เรามุ่งหน้าต่อไปยังภูฟ้า เพื่อจะไปดูโครงการของสมเด็จพระเทพฯ และเราก็จองที่พักไว้แล้ว ไปถึงเย็นๆ พระอาทิตย์กำลังจะตก ไม่มีนักเดินทางมาเยี่ยมเยียนเท่าไรนัก เราไปติดต่อจะเข้าที่พัก ปรากฎว่าที่ทำการปิด (เมื่อเช้าเพิ่งโทรมา) โครงการโล่งว่าง คงจะปิดสงกรานต์ แต่เมื่อเช้ามีคนรับโทรศัพท์นี่นา ลองเดินๆ ดูคงจะมีคนเฝ้าบ้างล่ะ (เราคงไม่ต้องขับกลับไปที่บ่อเกลือนะ) ตอนแรกเดินไปไม่เจอใครเลย ลองอีกครั้งเจอน้องคนเฝ้า น้องเค้าก็ให้เราพัก ทั้งตึกมีเราอยู่กันเท่านั้น อาหารเย็นก็ไม่มีขาย ต้องซื้อโจ๊กกับมาม่าไว้ น้องให้ยืมกาต้มน้ำไฟฟ้า ไอ้เราก็ไม่รอบคอบ ไม่ได้อ่านซองโจ๊กก่อน มันเป็นโจ๊กแบบต้ม ฮาซิ รอดไปเพราะมีมาม่า ที่พักคืนละ 900 บาทรวมอาหารเช้า ไม่มีแอร์ มีแต่พัดลม ไม่มีตู้เย็น (ราคาหน้าท่องเที่ยวและไม่ท่องเที่ยวราคาเดียวกัน) ต้องขอบอกว่าที่พักอยู่ในป่าทำให้มีแมลงเยอะ หากเปิดไฟไว้แมลงจะมาเล่นไฟ ห้องพักวิวสวยมาก จะเห็นนาขั้นบันได และพระอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า
วันที่สาม
ตื่นมาเป็นนักคีตวิทยา วิจัยแมลง มีทั้งด้วง กว่าง ผีเสื้อชนิดต่างๆ น้องทำอาหารให้ทานในโรงครัวเลย เป็นกันเองมากกก น้องบอกว่ามาตอนนี้ไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่ ควรมาตอนหน้าหนาวมากกว่า
จากนั้นเราก็อยากแวะดูวิถีชีวิตของชุมชน มีผีตองเหลือง หรือเรียกว่าเผ่ามลาบลี ด้วยแต่ไม่ให้ถ่ายรูป เราเลยผ่านไม่ได้เข้าไป
เราวางแผนจะกลับทางอำเภอสันติสุข แต่เมื่อถามตำรวจแถวนั้นเค้าบอกว่าอย่าไปเลยให้กลับไปทางเก่าดีกว่า เนื่องจากกำลังทำถนน ทางแย่มาก อันตราย เราก็ต้องกลับมาทางบ่อเกลือจนได้ เราเห็นวัดข้างทางกำลังมีพิธีในวัด เราก็พุ่งปรู๊ดไปขอเค้าถ่ายรูป หลังจากทำพิธีในโบสถ์แล้ว ก็มีการสรงน้ำพระ (ชาวบ้านเอาพระที่ตนบูชาที่บ้านมา) เสร็จแล้วก็สรงน้ำพระสงฆ์ ขนทรายเข้าวัด เขาเล่นสงกรานต์แบบน่ารัก อนุรักษ์วัฒนธรรมจริงๆ ไม่มีการสาดน้ำ เราก็โดนรดน้ำเหมือนกัน จากนั้นชาวบ้านชวนให้ไปดูการแข่งบั้งไฟที่ชาวบ้านทำกัน ซึ่งจัดอยู่กลางทุ่งนาใกล้ๆ วัดนั่นเอง การแข่งจะแบ่งรุ่นกันโดยชั่งน้ำหนัก มีสองกิโลกับสามกิโล แต่เสียดายเราไม่มีเวลามากนักที่จะรอดูการแข่งขัน
เราเดินทางกลับมายังอำเภอปัวอีกครั้ง แต่ไม่ได้ใช้เส้นทางเดิมที่ผ่านอุทยานภูคา ซึ่งไม่รู้ด้วยว่าเราพลาดที่จะเลี้ยวตรงไหน ทำให้เราต้องพาพี่บึกบึนไต่ไปตามไหล่เขา สองข้างทางเป็นเขาหัวโล้น ทางก็ซ่อม ถามคนขี่มอเตอร์ไซด์ผ่าน เขาก็เป็นชาวเขาพูดไทยไม่ได้อีก โชคดีมีทหารขี่ผ่านมาเขาก็บอกว่าทางนี้ก็ไปปัวได้ โอเคเราไม่หลง แต่ไม่ใช่ทางเดิมเท่านั้น ออกมาทางน้ำตกศิลาเพชร
ปัวจริงๆ ก็มีวัดเก่าแก่ให้เยี่ยมชม เช่นวัดพระธาตุเบ็งสกัด เป็นวัดไทลื้อที่เก่าแก่ สร้างด้วยไม้ เราไม่ได้เข้าไป เนื่องจากกำลังมีพิธีอยู่ วัดต้นแหลงเป็นวัดไทลื้อเก่าแก่ มีสิงห์คู่อยู่หน้าประตูโบสถ์
ที่ปัวยังมีต้นดิกเดียม ซึ่งเป็นต้นไม้ประหลาด ใบจะสั่นทุกครั้งที่สัมผัส
ระหว่างทางกลับเมืองน่าน ผ่านอำเภอท่าวังผา เราแวะวัดหนองบัว ซึ่งเป็นวัดไทลื้อที่เก่าแก่ สวยงาม ชอบที่สุดก็ดอกไม้ที่วัดนำมาติดไว้กับต้นไม้ใหญ่ ออกดอกเป็นเหมือนน้ำตกเลย หากนำมาปลูกที่กรุงเทพคงจะไม่งามอย่างนี้ ด้านในมีภาพวาดที่เก่าแก่พอๆ กับรุ่นปู่ม่านย่าม่าน
บ่ายคล้อยแล้ว ต้องรีบกลับเมืองน่าน เพื่อรอเก็บภาพเมืองน่านที่วัดพระธาตุเขาน้อย